วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โครงสร้างและการออกแบบองค์การ (Organization Structure and Design)

1. โครงสร้างองค์การคือระบบความสัมพันธ์ระหว่างงาน ความรับผิดชอบต่อการรายงาน และอำนาจโดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการประสานการปฏิบัติภารกิจของพนักงาน โครงสร้างองค์การมีสองส่วน ส่วนแรกเป็นการแบ่งงานขององค์การออกเป็นแผนกหรือฝ่ายตามลักษณะงานที่ทำส่วน หลัง เป็นการผสมผสานและประสานงานระหว่างหน่วยงานย่อย ๆ เพื่อให้งานสำเร็จ

2. แผนภูมิองค์การ แสดงถึง คน ตำแหน่ง สายการบังคับบัญชา สมาชิกของกลุ่มงาน แผนกงาน สายการติดต่อสื่อสารแบบทางการ แผนภูมิองค์การแสดงให้เห็นโครงสร้างหรือภาพขององค์การ โครงสร้างแยกเป็น 2 ส่วน คือ การแบ่งภารกิจองค์การออกเป็นงานย่อย ๆ (division of labor) กับการประสานงาน (coordination) การแบ่งภารกิจองค์การออกเป็นงานย่อย ๆ ก็เพื่อให้เหมาะกับการจัดคนเข้าทำงาน ส่วนการประสานงานเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรวมงานย่อย เป็นกลุ่ม เรียกว่า แผนกงาน การกำหนดขอบเขตการควบคุม (span of control) ซึ่งบอกถึงจำนวนพนักงานที่หัวหน้าคนหนึ่งต้องดูแลรับผิดชอบหรือขนาดของกลุ่ม งาน ถ้าจัดขนาดของกลุ่มโตจำนวนระดับชั้นบังคับบัญชาก็จะน้อยลง เป็นต้น

3. การจัดแผนกงานขององค์การมีหลายเกณฑ์ ทำให้เกิดแบบโครงสร้างขององค์การขึ้นหลายแบบ เช่นโครงสร้างเน้นตามหน้าที่ โครงสร้างเน้นตามผลผลิต โครงสร้างที่ผสมระหว่างหน้าที่กับผลผลิตซึ่งเรียกว่า โครงสร้างแบบตารางแมทริกซ์ และโครงสร้างองค์การแบบไร้พรมแดน ซึ่งยังแบ่งแยกย่อยเป็นองค์การแบบโมดุล องค์การแบบเสมือน เป็นต้น

4. ภาวะแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดการออกแบบองค์การ กล่าวคือ ในภาวะแวดล้อมที่คงที่ การออกแบบองค์การแบบจักรกล (mechanistic structure) ช่วยให้การดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิภาพ เพราะมีโครงสร้าง กฎข้อบังคับ การใช้อำนาจ และสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน ส่วนในภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง องค์การจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นต่อการปรับตัวและรองรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น การออกแบบที่มีโครงสร้างแบบสิ่งมีชีวิต (organic structure) จะมีความเหมาะสมกว่าเพราะให้ความสำคัญต่อคุณค่าและศักยภาพของมนุษย์ พนักงานได้รับโอกาสมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดเป้าหมายขององค์การ จึงมีขวัญกำลังใจและมีเจตคติที่ดีต่องานและองค์การ

5. มินซ์เบอร์กได้เสนอแนวคิดในการออกแบบองค์การ โดยยึดกลุ่มคนที่เป็นแกนหลักปฏิบัติภารกิจขององค์การ ซึ่งได้แก่ องค์การอย่างง่าย เช่น ร้านค้าหรือธุรกิจขนาดเล็กที่เจ้าของควบคุมดูแล องค์การแบบจักรกลเชิงราชการ ซึ่งแบ่งองค์การเป็นแผนกงานต่าง ๆ ตามหน้าที่หรือความชำนาญเฉพาะด้าน มีกฎเกณฑ์ระเบียบชัดเจน มีบุคลากรระดับหัวหน้าแผนกงานเป็นหลักที่ใช้อำนาจบริหารงาน องค์การทางวิชาชีพเชิงราชการ เช่น มหาวิทยาลัย ซึ่งมีคณาจารย์ที่เป็นนักวิชาชีพ/วิชาการ มีบทบาทอิสระเป็นแกนนำตัดสินใจต่าง ๆ ขององค์การ องค์การแบบมีโครงสร้างสาขา ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ จัดโครงสร้างแยกเป็นสาขาที่ดำเนินหน้าที่ครบถ้วนทุกด้านเหมือนบริษัทแม่ มีอำนาจและความคล่องตัวในการตัดสินใจและดำเนินการเอง และองค์การแบบทีมงานเฉพาะกิจ ซึ่งมีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูงมาก มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่าง ๆ น้อย โดยมีผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาร่วมทำงานเป็นทีม

6. นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือขององค์การขนาดใหญ่ระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบธุรกิจอย่างเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านการใช้ทรัพยากรและความชำนาญของแต่ละฝ่าย ร่วมกัน ช่วยให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากขึ้น และสามารถให้บริการลูกค้ามีคุณภาพดีขึ้น ทั้งยังเป็นการประหยัดกว่าดำเนินการเองตามลำพัง โครงสร้างเครือข่ายความร่วมมือดังกล่าวเรียกว่า พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (strategic alliance) ตัวอย่างเช่น ความร่วมมือของบริษัทสายการบินต่าง ๆ เป็นพันธมิตรเชิงธุรกิจที่ชื่อ star alliance เป็นต้น

อ้างอิง

โครง สร้างและการออกแบบองค์การ. ค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2553 จากเว็บไซต์http://webcache.googleusercontent.com /search?q=cache:LVfdQYSpZ0kJ:suthep.cru.in.th/plan10.doc+%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3&cd=14&hl=th&ct=clnk&gl=th

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up